สำหรับคนที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษา Pascal บ้างแล้ว ผมขอสรุป Syntax ไว้ใน Hidden Blog ข้างล่างนี้ เพื่อความสะดวกในการเข้ามาดูครับ
โครงสร้างของโปรแกรม Pascal โดยทั่วไป จะมีรูปแบบดังนี้
PROGRAM ProgramName ; USES {include units (external .pas files)} CONST {Constant declarations} TYPE {Type declarations} VAR {Variable declarations} {Sub-programs declarations & Implementations} BEGIN {Executable statements (Main)} END.
การเขียนโปรแกรมตามโครงสร้างดังกล่าว มีข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้
บางครั้งการแยกโค๊ดออกเป็นโมดูลย่อยแล้วค่อยเรียกใช้เข้ามาในโปรแกรมหลัก จะทำให้เราสะดวกในการค้นหาและแก้ไข อีกทั้งโค๊ดส่วนนี้ยังสามารถเอาไปใช้ในหลายๆโปรแกรมในภายหน้าได้อีก เราเรียกโมดูลที่เก็บโค๊ดเหล่านี้ว่า Unit
Unit คือไฟล์ .pas ที่มีส่วนประกาศหรือตัวแปรต่างๆ (uses, const, type, var) หรือโปรแกรมย่อย (functions/procedures) อยู่ภายใน ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็น Public Scope และ Private Scope โดยโครงสร้าง Unit ของ Pascal จะมีรูปแบบดังนี้
unit unitname; //public scope ----- interface {uses, const, type, var, function, procedure ... declaration} //private scope ----- implementation {function and procedure details} end.
ที่เป็นแบบนี้เพราะ ส่วนของ implementation นั้นมักจะประกอบไปด้วย source code หลายบรรทัด แถมยังมีการเรียกใช้ Variables หรือ Sub-program ซ้ำกันเต็มไปหมด จะเป็นการยากที่จะให้ Compiler มาหา Variables หรือ Sub-program หรืออะไรก็ตาม ในสถานที่นี้
การเขียนโปรแกรมนอกเหนือจากต้องรู้จักโครงสร้างของโปรแกรมแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจกับสองคำนี้ คือ Declaration กับ Implementation ซึ่งนอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเขียน Main Program แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับ Sub-program ด้วย (Sub-program คือ Procedure/Function หรือเรียกอีกอย่างว่า Method นั่นเอง เพื่อไม่ให้ดูซับซ้อนมากเกินไป ในหัวข้อนี้ จะขอเรียกพวกนี้สั้นๆว่า Sub-program แทน)
Declaration คือ การประกาศ เป็นส่วนที่ใช้บอก Compiler ว่า Program หรือ Sub-program ดังกล่าว ชื่ออะไร รับ Input หรือส่ง Output อะไรบ้าง เป็นต้น แต่ยังไม่ได้บอกถึงรายละเอียดว่าทำอะไรได้บ้าง
Implementation คือ ส่วนที่บ่งบอกว่า Program หรือ Sub-program นั้นทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนอะไรบ้าง
ก่อนการฝึกทำตัวอย่าง หรือเขียนโปรแกรมพื้นฐานง่ายๆ เราควรทำความรู้จักกับ Built-in Function ต่อไปนี้เสียก่อน
Functions | Descriptions |
---|---|
writeln(string) หรือ writeln(string,value) | แสดงข้อความและค่าของตัวแปร แล้วลงไปบรรทัดถัดไป |
write(string) | แสดงข้อความและค่าของตัวแปร แล้วอยู่บรรทัดเดิม |
readln(variable) | รับค่าใส่ Variable จากการพิมพ์ข้อมูลหน้าจอแล้วกด Enter บางครั้งเราใช้ readln() เฉยๆเพื่อเบรคโปรแกรมไว้ไม่ปิดตัวเอง |