User Tools

Site Tools


Sidebar


Introduction


Basic Tutorials


Advance Tutorials


Useful Techniques


Examples

  • Simple Pipe Weight Calculator
  • Unit Convertor

Sidebar

introduction:lazaruside

Lazarus IDE


มารู้จักโปรแกรม Lazarus IDE

Lazarus IDE เป็นโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษา Object Pascal โดยใช้ตัวแปลภาษาชื่อ Free Pascal Compiler (FPC) จุดเด่นของโปรแกรมนี้มีดังต่อไปนี้

  • ใช้งานฟรี (Opensource) และใช้เขียนโปรแกรมเชิงพาณิชย์ได้ (Free for Commercial Use)
  • ใช้เขียนโปรแกรมรองรับหลายระบบปฏิบัติการ (Cross Platform Development)
  • ใช้ทรัพยากรน้อย เครื่องไม่อืด
  • ทำงานบน Rapid Development Framework (RAD) สามารถนำไฟล์ .exe ไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องการ install หรือ Update Framework ใดๆเพิ่มเติม
  • รูปแบบโครงสร้างไวยากรณ์คล้าย Borland Delphi ทำให้ผู้ที่เขียน Delphi เป็นอยู่แล้ว แทบไม่ต้องเรียนรู้ใหม่
  • มี component ให้ใช้มากมาย
  • ปัจจุบันยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงานอาสาสมัคร

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโปรแกรมได้ตามลิ้งค์ https://www.lazarus-ide.org


การติดตั้งโปรแกรม

การติดตั้งโปรแกรม Lazarus IDE ไม่ยากครับ เข้าไปโหลดโปรแกรมจากเวปไซต์หลัก จากนั้นกดรันไฟล์ติดตั้ง เพื่อทำการ Install ได้เลย ตัวโปรแกรมจะมีทั้งแบบ 32 บิท และแบบ 64 บิท เลือกให้ตรงตามระบบปฏิบัติการได้เลย


เริ่มต้นใช้งาน

การใช้งาน Lazarus IDE มีหลายสิ่งที่ควรรู้ดังนี้

การเริ่ม Project

ปกติเมื่อเราเข้าโปรแกรมมาครั้งแรก จะปรากฎ Text Editor พร้อมกับ Form เปล่าๆมาคู่กัน สิ่งนี้เราเรียกว่าเป็น Project สำหรับการสร้าง Graphic User Interface (GUI) Application หรือ เรียกอีกอย่างว่า Form-based Application ครับ ซึ่งเป็น Default Project ของ Lazarus IDE อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการสร้าง Project ใหม่ในรูปแบบอื่นๆ ก็ทำได้โดยการเลือกเมนู

Project >> New Project ...

จะปรากฎหน้าต่าดังรูปข้างล่างขึ้นมาครับ


จากภาพ ในนี้มี Project ที่เราจะอาจได้ใช้บ่อยจริงๆไม่กี่ตัวครับ อาทิ เช่น Application, Simple Program, Program และ Library สำหรับรายละเอียดของแต่ละตัว มีดังนี้

Project Descriptions
Application คือ การสร้าง GUI Application หรือ Form-based Application นั่นเอง โดยปกติเมื่อเรากดเข้าโปรแกรมมาในตอนแรก Lazarus IDE จะสร้าง Application ตัวนี้ไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว
Simple Programคือ การสร้าง Console Application (หน้าจอมืดๆเหมือน Dos) แบบเรียบง่าย คือ ไม่มีการใส่ unit หรือ Compiler Directive ใดๆมาให้เราเลยในตอนเริ่มต้น

อย่างไรก็ตาม การสร้าง Project แบบนี้มีข้อดี คือ เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อทดลองงานเล็กๆ หรือเขียนเพื่อเรียนรู้ตาม Tutorial
Programคือ การสร้าง Console Application คล้ายกับ Simple Program แต่มีการใส่ unit ที่จำเป็นบางตัวมาให้ในตอนเริ่มต้น
Libraryคือ การสร้าง Shared Library


หมายเหตุ เราสามารถสร้าง Project ใหม่ได้อีกวิธีหนึ่ง นั่นคือการเลือกเมนู

File >> New ... 

จะปรากฎหน้าต่าดังรูปข้างล่างขึ้นมาครับ

สำหรับการสร้าง Project ให้เราดูในกลุ่มชื่อ Project ครับ จะมีให้เลือกคล้ายกันกับการสร้างแบบ New Project …


การเพิ่ม Unit/Form

จากภาพข้างบน หลังจากที่เราเลือกเมนู File » New … จะสังเกตว่า มี Object อื่นให้สร้างนอกเหนือจาก Project ด้วยเช่นกัน ให้เราขึ้นมาดูในส่วนของ Module ครับ ส่วนนี้คือการเพิ่ม object เข้ามาใน Project ของเราครับ ซึ่งหลักๆที่ใช้บ่อยก็คือพวก unit หรือ Form เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถเพิ่ม Unit หรือ Form ได้โดยวิธีที่ง่ายกว่านี้เพียงแค่ใช้เมนู

File >> New Unit
File >> New Form



การตั้งค่าเบื้องต้น

การตั้งค่า มี 2 แบบ คือ ตั้งค่าพื้นฐานสำหรับใช้งาน IDE กับตั้งค่าเฉพาะสำหรับ Project นั้นๆ

การตั้งค่า IDE ทำได้โดยการเลือกเมนู

Tools >> Options ...

ปกติแล้ว ผมจะตั้งค่าเกี่ยวกับพวก Syntax Highlighter แค่เฉพาะตอนเริ่มต้นใช้งานครั้งแรกครับ หลังจากนั้น ก็แทบไม่ได้มายุ่งในส่วนนี้อีกเลย


สำหรับการตั้งค่า Project ให้เลือกเมนู

Project >> Project Options ...

ทุกครั้งที่เริ่ม Project ที่เป็น Application ซึ่งเป็นการสร้าง GUI Application หรือ Form-based Application ขึ้นมานั้น สิ่งที่สำคัญมากๆก่อนการเริ่มใช้งาน ผมจะเข้ามาตั้งค่าในนี้เสมอครับ ซึ่งการตั้งค่า Project ที่ผมทำเป็นประจำทุกครั้ง สรุปได้ดังนี้ครับ

  • ในส่วนของ Project Option หน้า Application ตรง DPI Awareness เลือก “On (True)” ตรงนี้สำคัญสำหรับ GUI Application เพราะระบบปฎิบัติการสมัยใหม่ มักจะทำการ scale up/down หน้าจอ กับโปรแกรมให้เข้ากัน ถ้าไม่มีในส่วนนี้ GUI Application ของเราจะเบลอครับ และจะต้องไปปรับในการใช้งานอีกที
  • ในส่วนของ Compiler Option หน้า Path ให้กด 2 ปุ่มตามภาพข้างล่าง จากนั้นให้กดปุ่ม OK


  • เมื่อเราออกมาข้างนอก เลือกเมนูที่อยู่ด้านหน้าปุ่ม Run (สีเขียว) จะพบว่าจะมีโหมดในการ Run (Compile) มาให้เลือกภึง 3 โหมด คือ Default, Debug และ Release เหตุผลที่ต้องทำแบบนี้เนื่องจากการใช้งานทั่วไป Compiler จะรันโหมด Default ซึ่งทำให้ไฟล์ .exe ที่ได้นั้นใหญ่มากเนื่องจาก Compiler ได้เก็บข้อมูลการ Debug ไว้ในไฟล์ด้วย ดังนั้นในกรณีที่เราไม่ต้องการดูข้อมูลการ Debug และต้องการไฟล์ที่เล็กลง ควรเลือกโหมด Release ในการ Run แทนเพื่อช่วยประหยัดพื้นที่


มารู้จักส่วนต่างๆใน IDE

แรกเริ่มเมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะเจอหน้าต่างแบบนี้

ซึ่งก็คือการสร้าง Project แบบ Application หรือ ที่เป็น GUI Application นั่นเอง ผมขอใช้ภาพนี้ในการอธิบายส่วนประกอบต่างๆที่จำเป็นสำหรับใช้งาน IDE ละกันครับ

1. LCL Components

LCL ย่อมาจาก Lazarus Component Library ซึ่งคล้ายกับ Visual Component Library (VCL) ของ Delphi นั่นเอง อีกทั้งการตั้งชื่อ หรือการเรียกใช้งาน property, function และ procedure ของ LCL ยังถูกออกแบบให้คล้ายคลึงกับ VCL เพื่อความง่ายสำหรับผู้ที่เคยใช้งาน Delphi มาแล้ว

LCL Components จะถูกใช้สำหรับการสร้าง GUI Application ในส่วนของการใช้งานถือว่าง่ายมากครับ สามารถทำการ click ที่รูปภาพแล้ว ไป click ที่ Form ที่เราต้องการได้เลย เพียงแค่นี้ Component ที่เราเลือก จะถูกนำไปแปะไว้บน Form นั้น

LCL Components มีทั้งแบบ Visual ที่แสดงผลเป็นรูปร่างบน Form และ Non-visual ที่ไม่แสดงบน Form ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานของ Component นั้นๆ สำหรับรายละเอียดการใช้งานแต่ละ Component จะกล่าวถึงใน Standard Controls

2. Object Inspector

เป็นส่วนที่จำเป็นมากสำหรับ GUI Application โดยหน้าต่างนี้ทำให้เราสามารถเข้าถึงและปรับแต่ง Property ต่างๆของ LCL Component ได้ ไม่ว่าจะเป็น ความกว้าง ความสูง ชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปสร้าง Event สำหรับ LCL Component ดังกล่าวได้อีกด้วย

3. Form

คือ ส่วนที่ใช้ออกแบบหน้าตาของ Form สำหรับ GUI Application โดยเราจะนำ LCL Component ทั้งหลาย มาวางในตำแหน่งต่างๆจนเกิดเป็นหน้าตาโปรแกรมขึ้นมา

4. Source Editor

คือ ส่วนที่เป็น Text Editor สำหรับ Project ทุกๆ Project

5. Massage

คือ ส่วนที่รายงานการ Compile ว่ามี Error หรือ คำเตือนอะไรบ้าง ได้ผลการ Compile เป็นเช่นไร จะถูกระบุในส่วนนี้ทั้งหมด

หมายเหตุ - สำหรับ Project อื่นๆที่ไม่ใช่ GUI Application เช่น Simple Program หรือ Program เราก็จะไม่ได้ใช้งานในส่วนมที่ 1, 2 และ 3

introduction/lazaruside.txt · Last modified: 2019/01/04 12:18 by admin